วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที7 ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์


ธุรกิจนำเที่ยว


พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ปี พ.ศ. 2535 มาตราที่ 3
“การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัด หรือการให้บริการหรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร และหรือมัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว”



ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว แบ่งตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ปี พ.ศ. 2535 มี 3 ประเภทได้แก่
-ธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่
เป็นการจัดนำเที่ยวในจังหวัดที่ดำเนินธุรกิจนำเที่ยวและ จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน
-ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ
เป็นการจัดนำเที่ยวไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร

-ธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ
เป็นการจัดนำเที่ยวไปยังต่างประเทศ นำนักท่องเที่ยวต่างประเทศเที่ยวในประเทศไทยทั่วราชอาณาจักร และนำนักท่องเที่ยวชาวไทยเที่ยวภายในประเทศไทยทั่วราชอาณาจักร ( outbound, inbound and domestic)


Why take a tour ?


Ø The Freedom from Hassles and Decision Making
Ø The Desire to Save Time and Money
Ø The Companionship of People with Similar Interests
Ø The Educational Nature of Touring
Ø The Lack of Alternatives


Travel Agency



A retail business authorized to sell travel products on behalf of vendors such as airlines, rail companies and lodging establishments.
Foster


An individual or firm authorized to sell travel services to the general public
Kathleen Lingle Pond. The professional Guide : Dynamic s of Tour Guide : 260


Tour Operator กับ Travel Agency ต่างกันอย่างไร


•I go to a Travel Agent to book a holiday (well actually I don't, but I might).The Travel Agent will offer me a choice of holidays with different Tour Operators.The Tour Operator is responsible for my holiday.The Travel Agent takes my money.Think of it like a restaurant. The waiter takes my order (the travel agent). The chef cooks the food (the tour operator).



บทบาทและหน้าที่ของ Travel Agency



- จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
เช่น ราคาตั๋วพาหนะ ราคาห้องพัก ราคาเช่ารถ ฯลฯ
- การจองใช้บริการยานพาหนะ
การจองตั๋วเครื่องบิน เป็นการวางแผนการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ( Planning an itinerary) ซึ่งการเดินทางแต่ละช่วง ( Flight segment) ต้องการข้อมูลดังนี้ คือ จำนวนผู้โดยสารพร้อมชื่อและนามสกุล เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ที่อยู่ทางไปรษณีย์ ชื่อผู้จอง ข้อมูลความต้องการพิเศษ วันที่ออกบัตรโดยสาร และรูปแบบการชำระเงิน


รับชำระเงิน


ARC จะให้Travel Agency ส่งรายงานเกี่ยวกับจำนวนบัตรโดยสารที่ขายและจำนวนเงินที่ได้รับจากการขาย แล้วนำเงินเข้าบัญชี settlement account ซึ่ง ARC จะถอนเงินไปชำระให้แก่สายการบินต่างๆ โดยหักค่านายหน้า (commission) ให้แก่ Travel Agency


ARC : Airlines Reporting Corporation

•A corporation jointly owned by major U.S. airlines to account for ticket sales by accredited travel agencies; formed by a reorganization of the Air Transport Association
•ARC คือ องค์กรที่ร่วมก่อตั้งขึ้นโดยสายการบินระดับประเทศของสหรัฐอเมริกา เพื่อรับผิดชอบดำเนินการจำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบินแก่แทรเวล เอเจนซี ที่จดทะเบียนแล้วและเป็นองค์กรที่ปรับเปลี่ยนมาจากองค์กรเดิมคือ สมาคมการขนส่งทางอากาศ (ATA)
•ส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
• โดยส่วนมากลูกค้าอาจไปรับเอง หรืออาจมีเจ้าหน้าที่มาส่งให้ ณ ที่นัดหมาย หรืออาจไปรับที่สนามบินก็ได้
•ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
• ซึ่งเป็นสินค้าและบริการส่วนเสริม (Auxiliary Segments)
ช่วยในการซื้อบัตรโดยสาร
หากTravel Agency ใดไม่ได้เน้นการขายบัตรโดยสารเครื่องบิน อาจไม่สามารถออกบัตรโดยสารเองได้ จึงต้องซื้อจาก Travel Agency อื่นออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ


ประโยชน์ของการใช้บริการจาก Travel Agency


-ช่วยวางแผนและหาข้อมูลในการท่องเที่ยว
-สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุดได้
-ทำให้ประหยัดเวลาและความลำบาก
-ช่วยแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
-รู้จักผู้ประกอบธุรกิจมากกว่า
-รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า



ลักษณะของตัวแทนทางการท่องเที่ยว (travel agency) ที่ดี


-ต้องสามารถเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของลูกค้าในเรื่องของการเดินทางท่องเที่ยวได้
-เป็นนักขาย นักจิตวิทยา มีความรู้ความชำนาญในเรื่องของการ
เดินทางท่องเที่ยว
-รู้ถึงข้อได้เปรียบ เสียเปรียบของการเดินทางในรูปแบบต่างๆ
-สามารถจัดหาบริการเดินทางให้เหมาะสมกับลูกค้าของตน
-มีความรู้เรื่องภูมิศาสตร์ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ได้ดี
-สามารถอ่านตารางเวลาเข้า-ออกของยานพาหนะได้ทุกประเภทได้อย่างรวดเร็ว
-สามารถคิดค่าตั๋ว และเขียนตั๋วได้ทุกประเภท มีความรู้เกี่ยวกับการสำรองที่นั่งบนเครื่องบินและห้องพักในโรงแรม
-มีความรู้เกี่ยวกับราคาที่พักแรม คุณภาพ ลักษณะร้านอาหาร สถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง
-ตื่นตัว ติดตามข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์ปัจจุบัน กฎระเบียบต่างๆ



Alphabet Code for airline business


A : Able B: Baker C : Charlie
D : Dog E : Easy F : Fox
G : George H : How
I : Item J : John(Jimmy) K : King
L : Love M : Mike N : Nan ( Nancy)
O : Oboe P : Peter Q : Queen
R : Roger S : Sugar T : Tare
U : Uncle V : Victor W : William
X : X-Ray Y : York Z : Zebra



ประเภทของ Travel Agency



nเมื่อประมาณ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา แทรเวล เอเจนซี่มีขนาดเล็ก เป็นธุรกิจของครอบครัวและให้บริการแก่ลูกค้าที่อยู่ในทำเลใกล้เคียง โดยมักขายผลิตภัณฑ์และบริการท่องเที่ยวหลากหลายประเภท ปัจจุบันแทรเวล เอเจนซี่มีรูปแบบที่แตกต่างกัน

Travel Agencyแบ่งเป็น 4 ประเภท

แบบที่มีมาแต่เดิม Conventional Agencies
- ประเภทเครือข่าย

- ประเภท Franchise
- ประเภท Consortium
- ประเภท อิสระ


แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต Online Agencies

- แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง Specialized Agencies
-แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก Home-based Agencies


1. แบบที่มีมาแต่เดิม ( Conventional Agency)


-มักจะขายผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยวที่หลาก หลายและเต็มรูปแบบ
เช่น ขายบัตรโดยสารเครื่องบิน ที่พัก บริการเช่ารถ บัตรโดยสารรถไฟ เรือสำราญ โปรแกรมทัวร์ และทัวร์แบบเหมาจ่ายต่างๆ
-ลูกค้าสามารถจองหรือขอคำปรึกษาทางโทรศัพท์ ทางอีเมล์ หรือไปที่สำนักงาน
-มักจะขายให้กับลูกค้าที่อยู่ในชุมชนนั้นและบริเวณใกล้เคียง

-แทรเวล เอเจนซี่ ประเภทนี้อาจแบ่งย่อยตามลักษณะการบริหารจัดการ ดังนี้
-แบบเครือข่าย เช่น Carlson Wagonlit และ American Express บางเครือข่ายอาจใหญ่ มีสาขามากกว่า 1000 สาขา เรียกว่า mega-agency
-แบบแฟรนไชส์ หมายถึง แทรเวล เอเจนซี่ของบุคคล หรือครอบครัวแต่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับบริษัทแม่ที่มีชื่อเสียง เพื่อให้ได้ใช้ชื่อและได้แนวทางการดำเนินงานจากบริษัทนั้น โดยจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับบริษัทแม่รายปี
-แบบคอนซอเตียม (Consortium) คือ กลุ่มของเอเจนซี่ที่ร่วมมือกันพัฒนากิจกรรมทางการตลาดและระบบอื่นๆ เช่น ระบบบัญชี การฝึกอบรมพนักงาน เป็นต้น เอเจนซีแบบนี้ยังคงรักษาลักษณะเฉพาะของตนเอง และไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อของบริษัทแม่
-แบบอิสระ ไม่มีความเกี่ยวข้องในลักษณะเครือข่ายกับบริษัทใด มักเป็นของบุคคลหรือครอบครัว


2. แบบขายทางอินเตอร์เน็ต (Online Agencies)


-เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา เอเจนซีประเภทนี้ประกอบธุรกิจผ่านทางอินเตอร์เน็ต และบางครั้งอาจให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์บ้าง
-แทรเวล เอเจนซี แบบออนไลน์ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Travelocity Expedite และ Orbits
-จุดเด่นของเอเจนซีที่ขายทางอินเตอร์เน็ต คือ สามารถขายไปยังที่ต่างๆทั่วโลก ไม่จำกัดเฉพาะในชุมชน หรือแหล่งที่ตั้งแห่งหนึ่งแห่งใด



3. แบบชำนาญเฉพาะทาง (Specialized Agencies)



-เอเจนซีแบบอิสระ และแบบที่เป็นส่วนหนึ่งของคอนซอเตียม พบว่าอาจจะทำธุรกิจได้ดีขึ้นหากขายไปยังกลุ่มตลาดลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะทาง เช่น ตลาดนักธุรกิจ ตลาดเรือสำราญ ตลาดลูกค้าระดับสูง เป็นต้น


4. แบบประกอบธุรกิจจากที่พัก (Home-Based Agencies)

ในปัจจุบันที่ธุรกิจต่างๆสามารถทำได้โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต ผู้ประกอบการแทรเวล เอเจนซี อาจปรับเปลี่ยนบ้านหรือที่พักเป็นสำนักงาน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสำนักงาน และไม่ต้องใช้งบประมาณลงทุนสูง



การจัดตั้งธุรกิจนำเที่ยว


ทำเลที่ตั้ง


•ธุรกิจนำเที่ยวที่ไม่ได้ติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรง อาจตั้งในย่านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และสามารถติดต่อกับบริษัทตัวแทนได้สะดวก
สำหรับตัวแทนทางการท่องเที่ยวอาจจะตั้งอยู่ในชุมชน เข้าถึงได้สะดวก
แหล่งเงินทุน
เนื่องจากธุรกิจนำเที่ยวไม่ต้องลงทุนมากเหมือนกันอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ เพียงมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับติดต่อสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โทรสาร ฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น


การตลาด


คือ ลู่ทางการจัดจำหน่าย ส่วนแบ่งทางการตลาด การทำประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการวางแผน การทำวิจัยตลาด การส่งเสริมการขาย เป็นต้น
การจดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว
ดูรายละเอียดและขั้นตอนได้ใน www2.tat.or.th/tbgr/
หลักประกันใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
เฉพาะพื้นที่ 10,000 บาท ในประเทศ 50,000 บาท
Inbound 100,000 บาท
Outbound 200,000 บาท


คำจำกัดความของบริษัททัวร์ดังนี้


•Tour wholesaler: A travel vendor that assembles package vacations to be sold to the public by retail travel agencies.

•บริษัททัวร์ (ผู้ขายส่งทัวร์) หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่จัดทำโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายโดยขายให้กับลูกค้าผ่านทางแทรเวล เอเจนซี่
• (Foster, 1994 : 371)


บริษัททัวร์ หรือผู้ขายส่งทัวร์


•หมายถึง ธุรกิจที่จัดทำทัวร์แบบเหมาจ่ายหรือจัดนำเที่ยว
•(Foster, 1994 : 371)
•A tour is defined as any preplanned (and prepaid) package to one or more places, which includes two or more travel components (e.g. flights, lodging, admission to attractions)


ทัวร์ หมายถึง อะไร

•รูปแบบของการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนล่วงหน้า (และชำระเงินล่วงหน้า) ซึ่งจะท่องเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งแห่งหนึ่งหรือมากกว่า โดยจะรวมองค์ประกอบของการท่องเที่ยวอย่างน้อย 2 ประเภทหรือมากกว่า เช่น อาจจะรวมบัตรโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบัตรเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น
•(Mancini, 2005 : 114)


บริษัททัวร์ทำสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ


•ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร สายการบิน บริษัทรถโคชและบริษัทที่บริการด้านการเดินทางอื่นๆ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้แก่ สวนสนุก พิพิธภัณฑ์
•เพื่อทำโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายประเภทต่างๆ จากนั้นจึงขายโปรแกรมทัวร์ไปยังลูกค้าโดยตรงหรือผ่านทางแทรเวล เอเจนซี

โครงสร้างการบริหารของบริษัทนำเที่ยว


¤แผนกบุคคลและมัคคุเทศก์ ( Personnel and Guide)
¤แผนกจัดนำเที่ยวอิสระ (Foreign Individual Traveller)
¤แผนกจัดนำเที่ยวเป็นกลุ่มและเพื่อเป็นรางวัล (Group and Incentive)
¤แผนกจัดรายการนำเที่ยว (Tour Operation)
¤แผนกจัดนำเที่ยวภายในประเทศ ( Inbound Tour)
¤แผนกจัดนำเที่ยวนอกประเทศ ( Outbound Tour)
¤แผนกจัดนำเที่ยวไทยภายในประเทศ ( Domestic Tour)
¤แผนกบริหาร ( Management)
¤แผนกขายและการตลาด (Sale and Marketing)
¤แผนกปฏิบัติการและนำเที่ยว (Operation)
¤แผนกยานพาหนะ (Transportation)
¤แผนกเอกสารธุรการ (Support Staff and Documentation)
¤แผนกรับจองและขาย (Reservation and Sales)
¤แผนกแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Currency Exchange)



ประเภทของการจัดนำเที่ยว


-ทัวร์แบบอิสระ An Independent Package Tour
-ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว A Hosted Tour
-ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว An Escorted Tour


1. ทัวร์แบบอิสระ (Independent Tour)

-เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวแบบอิสระ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะประกอบด้วยที่พักในโรงแรม บัตรโดยสารเครื่องบิน และการบริการรถรับ-ส่งจากสนามบินหรือรถเช่า
-ทัวร์แบบอิสระจะทำให้นักท่องเที่ยวมีเสรีที่จะวางแผนกิจกรรมต่างๆได้เอง ในขณะเดียวกันก็จะเสียค่าใช้จ่ายในราคาที่ต่ำกว่าการจองผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวโดยตรง


2. ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว (Hosted Tour)


หมายถึง โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัททัวร์ ณ แหล่งท่องเที่ยว ตัวแทนบริษัททัวร์จะเข้ามาพบนักท่องเที่ยวเพื่อให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาในเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน นักท่องเที่ยวจะได้รับประโยชน์และการบริการ ณ แหล่งท่องเที่ยวที่เดินทางไป


3. ทัวร์แบบมีผู้ นำเที่ยว (Escorted Tour)

การจัดทัวร์แบบอื่นๆ เช่น

-การจัดทัศนาจร (Day Tour) หมายถึง โปรแกรมทัวร์ที่พานักท่องเที่ยวเดินทางโดยใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงเช่น การท่องเที่ยวชมเมือง (City Tour) มักจะจัดโดยรถโค้ชหรือรถบัสขนาดเล็ก บางครั้งผู้ขับรถโค้ชหรือรถบัสขนาดเล็ก บางครั้งผู้ขับรถโค้ชจะทำหน้าที่มัคคุเทศก์เอง
- ทัวร์แบบผจญภัย (Adventure Tours) เช่น การไปดำน้ำ การไปล่องแพ การไปเดินป่าเป็นต้น
บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว (Destination Management Company or DMC)

-ททท.ให้คำจำกัดความดังนี้ “บริษัทที่ดำเนินจัดการเรื่องการขนส่งภาคพื้นดิน การจัดงานเลี้ยง โรงแรมและนำเที่ยวให้แก่กลุ่มท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล (Incentive Group)
-DMC มีความความเชี่ยวชาญดังนี้
-- บริการขนส่งภาคพื้นดิน จองห้องพัก ห้องอาหารและห้องจัดเลี้ยงของโรงแรม บริการจัดงานเลี้ยงนอกสถานที่ จัดกิจกรรมพิเศษ เช่น นันทนาการ กลุ่มสัมพันธ์
-บริษัทเอกชนต่างๆ นิยมติดต่อบริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยวให้ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวให้ดำเนิน


การจัดการท่องเที่ยวให้กับกลุ่มเดินทางท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล

บริษัทรับจัดการประชุม (Meeting Planner


-ตลาดการประชุมทั้งในและนอกประเทศเติบโตสูงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจึงกิดธุรกิจจัดประชุม ซึ่งธุรกิจนี้เป็นผู้จัดจำหน่ายที่สำคัญของธุรกิจโรงแรมและมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
-เลือกสถานที่สำหรับการประชุม จองห้องพัก ห้องประชุม และอุปกรณ์สำหรับการประชุม วางแผนด้านอาหารและเครื่องดื่ม วางโปรแกรมสำหรับผู้เข้าประชุมและผู้ติดตาม
-ประสานงานกับผู้จัดการประชุมของโรงแรมและสถานที่จัด วิทยากรหรือผู้รับเชิญ วางแผนด้านการรักษาความปลอดภัยหรือแก้ไขวิกฤต
-บริการด้านการเดินทางและขนส่ง ประเมินผลงานเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง



มัคคุเทศก์


แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.มัคคุเทศก์ทั่วไป
2.มัคคุเทศก์เฉพาะ

1 ความคิดเห็น: