วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 10 กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว

1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป มีกฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
-คำจำกัดความของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวและคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
-ระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งทุน และเงินสำรองของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ระเบียบเกี่ยวกับการกำกับ การควบคุมและการบริหารงานของททท.
ททท. มีมติแต่งตั้งนายสุรพล เศวตเศรนี เป็นผู้ว่าการ ททท.คนใหม่ เริ่มงาน 1 ม.ค. 53 เหตุยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด และรักษาการรองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน ททท. มีผล 31 ธ.ค.

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
-กฎหมายก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว
-ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โอนภาระงานด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาบริการท่องเที่ยว และทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-ทำให้ททท.มีหน้าที่เพียงด้านการบริหารจัดการตลาดการท่องเที่ยวเป็นหลัก

พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
-กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมี
วัตถุประสงค์เพื่อ
เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงาน
ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว

พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
-กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมี
วัตถุประสงค์เพื่อ
เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงาน
ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาในงาน "9 ปี สทท.สู่ก้าวย่างที่กล้าแกร่งคู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย" ในโอกาสครบรอบ 9 ปี ของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ สทท.
โดยมี กงกฤช หิรัญกิจ, เยาวลักษณ์ และ สุพัตรา จิราธิวัฒน์ ให้การต้อนรับที่ รร.โซฟิเทลเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546 (รวม 5 ฉบับ)
-เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
-จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
-คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น


2. กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว มีกฎหมายสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522, 2523 และ 2542
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกในประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยว
-ดูแลเกี่ยวกับการเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าว
-การควบคุมพาหนะที่เข้า-ออกประเทศตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือท้องที่ที่กำหนด

23 ก.ค.2553 พล.ต.ท.วุฒิ ลิปตพัลลภ ผบช.สตม. ให้การต้อนรับ Mr. Andrew R Curran
ผู้ช่วยทูต สำนักงานความมั่นคงทางการทูตประจำประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
ในโอกาสขอเข้าพบและคารวะผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ถึง 2548
-เป็นกฎหมายเก่าแก่ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2469 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาโดยลำดับ
-ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีกฎหมายศุลกากรใช้บังคับอยู่รวม 20 ฉบับ
-เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการนำของเข้า การส่งของออก การเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระเบียบว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร และข้อกำหนดเรื่องการนำเงินตราเข้าออกประเทศ


ของต้องห้ามและของต้องกำกัด
3. กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว มีกฎหมายสำคัญ จำนวน 17 ฉบับ ได้แก่
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองดูแลรักษาและจัดการอุทยานแห่งชาติอันเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติซึ่งต้องการให้มีการจัดการ การอนุรักษ์ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน
-อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และ 2546

เกี่ยวข้องกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าโดยคณะกรรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าเหล่านั้นถูกทำร้ายและสูญพันธุ์ในบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ
-กิจกรรมการดูนก ส่องสัตว์ในบริเวณดังกล่าว สำหรับนักท่องเที่ยวจึงมีความจำเป็นและเกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507, 2522 และ 2528
-เกี่ยวข้องกับการจัดการดูแลพื้นที่บริเวณที่เป็นป่าสงวน
-ซึ่งปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ยังคงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ

4.พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484, 2522 และ 2525

-เกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ
-ควบคุมการตัดไม้ ทำไม้ และของป่าหวงห้าม รวมทั้งควบคุมการนำไม้และของป่าเคลื่อนออกจากป่า
-เพื่อมิให้มีการตัดไม้และทำลายไม้โดยไม่จำเป็น และสงวนไม้มีค่าบางชนิดเอาไว้
-มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของป่าให้ยั่งยืน
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510, 2522 และ 2534
-การสำรวจแร่หรือทำเหมือง ถ้าพบโบราณวัตถุหรือซากดึกดำบรรพ์หรือแร่พิเศษอันมีคุณค่าแก่การศึกษาในทางธรณีวิทยา จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บได้ซึ่งวัตถุนั้น และผู้ถืออาชญาบัตรหรือผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว หรือผู้ถือประทานบัตรจะต้องแจ้งต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องถิ่น
-มีส่วนในการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเช่นกัน

ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2520
-การสำรวจและทำสำมะโนที่ดินเพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และความเหมาะสมแก่การทำประโยชน์ของรัฐและประชาชน
-กระทรวงมหาดไทยได้อาศัยมาตรา 9 (2) ออกประกาศลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 มิให้มีการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพในบริเวณที่เขาหรือภูเขา และปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขาสูง 40 เมตร บริเวณแม่น้ำลำคลอง รวมถึงที่ดินของรัฐที่มิได้มีบุคคลผู้ใดมีสิทธิครอบครองเฉพาะบริเวณที่ดินที่เป็นหิน ที่กรวด หรือที่ทราย

พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและอนุรักษ์ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้คงอยู่สืบไปซึ่งกิจกรรมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมจัดเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ การดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ

8.พระราชบัญญัติรักษาคลอง รศ. 121

-เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและจัดการกับพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ให้อยู่ในสภาพดีและเหมาะสม ปัจจุบันบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นการดำเนินการใดๆในพื้นที่แห่งนี้ต้องถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเกาะรัตนโกสินทร์

พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2535
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียน การกำกับดูแลโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และป้องกันการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ผิดกฎหมาย การจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์
-ระบุให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
-เนื่องจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมการดำเนินการใดๆจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างเคร่งครัด

10 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535

การควบคุมมลพิษ เช่น มลพิษทางอากาศ เสียง ทางน้ำ ของเสียอันตรายฯลฯ
การส่งเสริมรักษาและกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำในแม่น้ำ คลอง ชายฝั่งทะเล มาตรฐานคุณภาพอากาศ มาตรฐานระดับเสียงและความสั่นสะเทือน ฯลฯ
การกำหนดมาตรฐาน ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจาก โรงแรม อาคารชุด หอพักฯลฯ ในแหล่งท่องเที่ยวและควบคุมมลพิษจากแหล่งที่อื่นที่อาจจะส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง

11. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ 2535

ควบคุม ดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะสงฆ์ ซึ่งรวมถึงที่ดินของวัดอันเป็นที่ตั้งของทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศาสนสถานและโบราณสถาน
ห้ามแย่งการครอบครองหรือครอบครองปรปักษ์ที่วัด (คือ ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น) หรือที่ธรณีสงฆ์ (คือ ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด) นั้น และไม่ให้ที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ตกอยู่ในข่ายของการบังคับคดี คือ ใครจะยึดไปขายทอดตลาดชำระหนี้ไม่ได้ เท่ากับทำให้วัดซึ่งเป็นที่ตั้งของศาสนสถานและโบราณสถานต่างๆ ยังคงดำรงอยู่ตลอดไป
ห้ามมิให้เจ้าอาวาสหรือผู้แทนโอนที่ดินไปให้บุคคลใดได้ตามใจชอบ
วัดและวัดร้างที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานยังต้องอยู่ในความควบคุมของพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 การก่อสร้างอาคารต้องได้รับการอนุญาตจาก...............

12 .พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528

กำหนดให้มีการเผาศพ หรือฝังศพในสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือเอกชนที่ได้มีผู้ดำเนินการอนุญาตจัดตั้งเท่านั้น จะไปเผาศพหรือฝังศพที่อื่นไม่ได้ เช่น ในที่ป่าไม้ ที่ภูเขา ที่น้ำตก ถ้ำ ฯลฯ ที่มีลักษณะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว เพราะจะทำให้ภูมิทัศน์ของพื้นที่เหล่านั้นเสียไป รวมไปถึงการก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข คือ อาจเป็นอันตรายในทางอนามัยแก่ประชาชนทั่วไปได้
ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลง ต่อเติมสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือของเอกชน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อห้ามเช่นนี้มีประโยชน์ต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นสุสาน เช่น สุสานทหารสัมพันธมิตร จ.กาญจนบุรี สุสานสงครามช่องไก่ จ.กาญจนบุรี หรือสุสานเจ้าเมืองระนอง จ.ระนอง

13 พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128

กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่จะให้มิสซังกรุงเทพ และมิสซังหนองแสง (นครพนม) ถือที่ดินในประเทศไทยเพื่อก่อตั้งวัดบาทหลวงและสถานที่พักสอนศาสนา
วัดและสิ่งก่อสร้างทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกบางแห่งสร้างแบบสถาปัตยกรรมของยุโรป เช่น วัดอัสสัมชัญที่บางรัก หรือโบสถ์คาทอลิกในโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ใน จ.จันทบุรี สร้างขึ้นแบบสถาปัตยกรรมกอธิค เป็นต้น
เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวอีกประเภทหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการจะดูและศึกษาถึงการก่อสร้าง ประวัติความเป็นมา และความสวยงามของศาสนสถานนั้นๆ

14 พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และ 2528

ควบคุม และดูแลทางด้านการประมง อนุรักษ์ที่จับสัตว์น้ำ เช่น กว๊านพะเยา บึงบรเพ็ด ทะเลสาบสงขลา หรือท่าน้ำหน้าวัดต่างๆ ที่มีปลาอาศัยอยู่ เช่น วัดไร่ขิง จ.นครปฐม วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เป็นต้น
ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว เช่น ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์ (คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามหรือปูชนียสถาน หรือติดกับเขตสถานที่ดังกล่าว บริเวณประตูระบายน้ำ ฝาย หรือทำนบ) ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพของที่จับสัตว์น้ำหรือปลูกสร้างสิ่งใดหรือปลูกพืชพันธุ์ไม้ใดๆ ลงในที่จับสัตว์น้ำ ห้ามใช้วัตถุระเบิดหรือห้ามก่อภาวะมลพิษในแหล่งน้ำ เป็นต้น

15. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512, 2522 และ 2535
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงงานและการจัดการโรงงาน เพื่อลดการส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อแหล่งท่องเที่ยว และในบริเวณใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยว
โรงงานสุรา


16.พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของชานเมือง พ.ศ.2535

-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพฯ พัทยา และเทศบาลซึ่งพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้อาจรวมถึงบริเวณแหล่งท่องเที่ยวด้วย
17. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518, 2525 และ 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522, 2535 และ 2543
-เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารบริเวณแหล่งท่องเที่ยว การจัดการด้านผังเมือง การกำหนดเขตต่างๆในแหล่งท่องเที่ยว


4. กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว22 ฉบับ

4.1 พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535
การกำกับดูแลเรื่องของการจัดตั้ง ควบคุมการดำเนินงาน รวมทั้งการกำหนดบทลงโทษสำหรับธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ และธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้มาตรฐาน และไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
กำกับดูแลในเรื่องของการขอรับใบอนุญาตการขอต่ออายุ หรือยกเลิกการเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไปและมัคคุเทศก์เฉพาะด้วย เนื่องจากมัคคุเทศก์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในอันที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพนี้มีจรรยาบรรณแห่วิชาชีพอย่างแท้จริง
การจัดตั้งสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ในแต่ละภูมิภาค

4.2 พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547

เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยว
การควบคุมดูแลและการให้บริการแก่ผู้พักอาศัยของเจ้าของกิจการ

4.3 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509, 2521, 2525 และ 2546

เกี่ยวข้องกับการการให้คำจำกัดความของสถานบริการประเภทต่างๆ เช่น สถานเต้นรำ สถานที่ที่มีอาหาร สุราจำหน่าย สถานอาบน้ำ นวดหรืออบตัวฯลฯ
ระเบียบว่าด้วยการจัดตั้ง การควบคุมดูแล การให้บริการแก่ผู้รับบริการจากสถานบริการเหล่านั้นทั่วราชอาณาจักร

4.4 พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535

เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล และควบคุมมาตรฐานของภัตตาคาร ร้านอาหาร หรือกิจการประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องในด้านความสะอาด ถูกสุขอนามัย เพื่อสนองแนวคิดเรื่อง Clean food good taste เป็นต้น
มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการบริหารจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชน


4.5 พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528,2537,2544

เกี่ยวข้องกับการจัดหางานภายในประเทศ และการไปทำงานในต่างประเทศสาขาการท่องเที่ยวของบริษัทจัดหางานให้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย
4.6 พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2535เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
4.7 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2520, 2534 และ 2544 เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจด้านโฆษณาของธุรกิจต่างๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

4.8 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ถึง 2548

กำหนดมาตรฐานการจัดทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งอาจเป็นสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว เช่น ไวน์พื้นบ้าน สินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง เป็นต้น

4.9 พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542
เกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย เช่น นวดแผนโบราณ เป็นต้น


4.10 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ 2541

เป็นกฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองการบริโภคของบุคคลต่างๆ รวมถึงการคุ้มครองการบริโภค เช่น การซื้อของที่ระลึก ของนักท่องเที่ยว ซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้

4.11 พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ถึง 2543

การรถไฟแห่งประเทศไทย จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินกิจการตามที่กำหนดไว้ เช่น การสร้างทางรถไฟสายใหม่ เลิกกิจการในเส้นทางที่ปิดการเดินรถแล้ว ตั้งอัตราค่าโดยสาร เป็นต้น
รฟท.ต้องไม่วางระเบียบ ตลอดจนกำหนดอัตราค่าขนส่งอันจะเป็นการขัดกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีในทางเศรษฐกิจการคลัง โดยได้รับการยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

4.12 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2546

กำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งประจำทาง ไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก การขนส่งส่วนบุคคล การรับจัดการขนส่ง และสถานีขนส่งต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
รถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งผู้โดยสารต้องจดทะเบียนเสียภาษี และผ่านการตรวจสภาพเพื่อความมั่นคงแข็งแรงจากพนักงานตรวจสภาพรถหรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ
ผู้ประจำรถ ได้แก่ ผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งเพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ


4.13 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2542

-เกี่ยวกับการใช้รถ สัญญาณจราจร และเครื่องหมายจราจร การใช้ทางเดินรถ ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วของรถและอุบัติเหตุจากรถยนต์
4.14 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ถึง 2547

แบ่งรถยนต์ออกเป็น 3 ประเภท คือ รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล

4.15 กฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 259 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515

การรักษาทางหลวงให้คงทนถาวรและมีบทบัญญัติกำหนดประเภทและชนิดของทางหลวง การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวง รวมถึงประกาศกำหนดน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของยานพาหนะที่ใช้บนทางหลวง

4.16 พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยพ.ศ.2494 ถึง 2543

-การควบคุม ดูแลกิจการท่าเรือหรือธุรกิจเกี่ยวกับท่าเรือ ซึ่งหมายรวมถึงท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวด้วย
4.17 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 ถึง 2540

-การควบคุมดูแล การจัดระเบียบการเดินเรือสมุทรเพื่อการท่องเที่ยวและกิจการท่องเที่ยวทางน้ำประเภทต่างๆ
4.18 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2515

มาตรการป้องกันและปราบปรามการใช้แม่น้ำลำคลองเป็นที่จอดเรือเพื่อพักอาศัยโดยไม่เคลื่อนที่เป็นเวลานานจนก่อให้เกิดความสกปรกรกรุงรัง

4.19 พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 ถึง 2540

การออกทะเบียนเรือสำหรับการค้าในน่านน้ำไทย การโอนกรรมสิทธิ์เรือการจำนองและบุริมสิทธิอันเกี่ยวกับเรือ ชื่อเรือ การเปลี่ยนแปลงเรือ และการเปลี่ยนแปลงเมืองท่าขึ้นทะเบียน

4.20 พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ.2522

เป็นการใช้และการห้ามใช้โคมไฟ การใช้ทุ่นเครื่องหมาย การใช้เสียงสัญญาณ สัญญาณเวลาอับจน การถือท้ายและการเดินเรือ รวมถึงกำหนดวิธี หลักการป้องกันเรือโดนกัน

4.21 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 ถึง 2542

เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวในส่วนของการชำระค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินของนักท่องเที่ยว

4.22 พระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ถึง 2538

เกี่ยวกับการให้บริการท่าอากาศยาน และการอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ที่ใช้บริการท่าอากาศยาน แต่เดิมใช้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คือ “การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย” แต่ปัจจุบันตาม พ.ร.บ. ฉบับล่าสุด (พ.ศ.2538) ปรับจากรัฐวิสาหกิจเป็น “บริษัทมหาชนจำกัด”

บทที่8 ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึก

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึก(Shopping and Souvenir Business)ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยว

ความเป็นมา

การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในสมัยโบราณจะกระทำในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนระหว่างของกับของ หรือที่เรียกว่า Barter System ต่อมาเมื่อมีการนำเอาใช้โลหะมีค่า มากำหนดค่าและใช้เป็นสื่อกลางของการซื้อขายแลกเปลี่ยน ระบบBarter System จึงค่อยๆ เลิกไป

สถานที่ที่เกิดกิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
อาจมีพัฒนาการมาตั้งแต่การซื้อขายแลกเปลี่ยนเมื่อมีผู้ที่มีความต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการนั้น อาจไม่จำกัดสถานที่ เมื่อมีทั้งผู้ต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการนั้นมีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดบริเวณที่สามารถรวมเอาทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมากมาไว้ที่เดียว หรือ ตลาดเพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการเลือกซื้อสินค้า
ห้างสรรพสินค้า เป็นรูปแบบของธุรกิจการจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นจากยุโรปก่อนแล้วค่อยแพร่ขยายเข้ามาสู่ อเมริกา และเอเชียในที่สุด เป็นพัฒนาการของการจำหน่ายสินค้าที่รวมมาอยู่ในบริเวณเดียว มีการจัดสินค้าเป็นแผนก เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นหาของลูกค้า มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการส่งเสริมการขาย การบริการลูกค้า

ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ

ห้างสรรพสินค้า ( Department Store) หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้า มีการปรับเปลี่ยนสินค้าให้ทันสมัยและเหมาะสมตลอดเวลา หรือในบางครั้งห้างสรรพสินค้า อาจขายสินค้าไม่กี่ชนิด เพื่อเป็นการเน้นความเชี่ยวชาญ โดยส่วนมากห้างสรรพสินค้ามักตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน
ห้างสรรพสินค้ายังมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และได้ทำให้หลายๆ ประเทศพยายามพัฒนาภาพลักษณ์ให้เป็นสวรรค์ของการซื้อสินค้า ( Shopping Paradise)
ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาทิ โรงภาพยนตร์ ธนาคาร ภัตตาคาร
ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอดอากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูง แต่ขายถูก และสินค้าในร้านปลอดภาษีมักเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ

ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้า

เป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ ทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง หรือโฆษณาแหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น ผ้าไหม......... น้ำหอม............ นาฬิกา........
กิจกรรมการซื้อสินค้าเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่น

ธุรกิจสินค้าที่ระลึก

คือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน สินค้าที่ระลึกมักถูกพัฒนาจากศิลปหัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ โดยใช้วัสดุของท้องถิ่นในการผลิตและใช้แรงงานภายในท้องถิ่น

ลักษณะสำคัญของสินค้าที่ระลึก

เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อเอ่ยถึงทุกคนสามารถเดาที่มาได้

เป็นสินค้าที่หายากและราคาแพง มีแหล่งผลิตเฉพาะที่
เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกและมีประโยชน์ใช้สอย

เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก เหมาะสมต่อการขนส่ง ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย
เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่น เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูป
เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
เป็นสินค้าที่ควรหาซื้อได้ง่าย

ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของไทย
แบ่งจากจุดประสงค์ในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สอยเอง หรือเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ หรือเพื่อจัดจำหน่าย ทำให้ผลผลิตมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันสามลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามประเพณีนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามสมัยนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นเฉพาะ
แบ่งจากวัสดุและเทคนิควิธีการสร้าง มีสามลักษณะได้แก่
- สร้างหรือดัดแปลงจากวัสดุธรรมชาติ - สร้างจากวัสดุสังเคราะห์
- สร้างจากเศษวัสดุ
แบ่งจากรูปลักษณะที่ปรากฏ มีหกลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะตัวอักษร
- รูปลักษณะทรงเรขาคณิต
- รูปลักษณะตามลัทธิและความเชื่อ
- รูปลักษณะธรรมชาติ
- รูปลักษณะผลผลิตและเครื่องมือเครื่องใช้
- รูปลักษณะอิสระ
แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้
- ประเภทบริโภค - ประเภทประดับตกแต่ง
- ประเภทใช้สอย - ประเภทวัตถุทางศิลปะ

ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
ทางสังคมและวัฒนธรรม
-สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
-ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน
-การรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ทางเศรษฐกิจ
-สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ
-สร้างชื่อเสียงหรือเอกลักษณ์ของประเทศไปสู่โลก

ทางระบบการท่องเที่ยว
-ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
-ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ หรือเป็นการสร้างการยอมรับทางสังคม เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ

ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)
หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว

ธุรกิจนันทนาการประกอบด้วย

ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน

ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)

ธุรกิจการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว

ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว

ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกา

บทที7 ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์


ธุรกิจนำเที่ยว


พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ปี พ.ศ. 2535 มาตราที่ 3
“การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัด หรือการให้บริการหรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร และหรือมัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว”



ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว แบ่งตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ปี พ.ศ. 2535 มี 3 ประเภทได้แก่
-ธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่
เป็นการจัดนำเที่ยวในจังหวัดที่ดำเนินธุรกิจนำเที่ยวและ จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน
-ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ
เป็นการจัดนำเที่ยวไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร

-ธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ
เป็นการจัดนำเที่ยวไปยังต่างประเทศ นำนักท่องเที่ยวต่างประเทศเที่ยวในประเทศไทยทั่วราชอาณาจักร และนำนักท่องเที่ยวชาวไทยเที่ยวภายในประเทศไทยทั่วราชอาณาจักร ( outbound, inbound and domestic)


Why take a tour ?


Ø The Freedom from Hassles and Decision Making
Ø The Desire to Save Time and Money
Ø The Companionship of People with Similar Interests
Ø The Educational Nature of Touring
Ø The Lack of Alternatives


Travel Agency



A retail business authorized to sell travel products on behalf of vendors such as airlines, rail companies and lodging establishments.
Foster


An individual or firm authorized to sell travel services to the general public
Kathleen Lingle Pond. The professional Guide : Dynamic s of Tour Guide : 260


Tour Operator กับ Travel Agency ต่างกันอย่างไร


•I go to a Travel Agent to book a holiday (well actually I don't, but I might).The Travel Agent will offer me a choice of holidays with different Tour Operators.The Tour Operator is responsible for my holiday.The Travel Agent takes my money.Think of it like a restaurant. The waiter takes my order (the travel agent). The chef cooks the food (the tour operator).



บทบาทและหน้าที่ของ Travel Agency



- จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
เช่น ราคาตั๋วพาหนะ ราคาห้องพัก ราคาเช่ารถ ฯลฯ
- การจองใช้บริการยานพาหนะ
การจองตั๋วเครื่องบิน เป็นการวางแผนการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ( Planning an itinerary) ซึ่งการเดินทางแต่ละช่วง ( Flight segment) ต้องการข้อมูลดังนี้ คือ จำนวนผู้โดยสารพร้อมชื่อและนามสกุล เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ที่อยู่ทางไปรษณีย์ ชื่อผู้จอง ข้อมูลความต้องการพิเศษ วันที่ออกบัตรโดยสาร และรูปแบบการชำระเงิน


รับชำระเงิน


ARC จะให้Travel Agency ส่งรายงานเกี่ยวกับจำนวนบัตรโดยสารที่ขายและจำนวนเงินที่ได้รับจากการขาย แล้วนำเงินเข้าบัญชี settlement account ซึ่ง ARC จะถอนเงินไปชำระให้แก่สายการบินต่างๆ โดยหักค่านายหน้า (commission) ให้แก่ Travel Agency


ARC : Airlines Reporting Corporation

•A corporation jointly owned by major U.S. airlines to account for ticket sales by accredited travel agencies; formed by a reorganization of the Air Transport Association
•ARC คือ องค์กรที่ร่วมก่อตั้งขึ้นโดยสายการบินระดับประเทศของสหรัฐอเมริกา เพื่อรับผิดชอบดำเนินการจำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบินแก่แทรเวล เอเจนซี ที่จดทะเบียนแล้วและเป็นองค์กรที่ปรับเปลี่ยนมาจากองค์กรเดิมคือ สมาคมการขนส่งทางอากาศ (ATA)
•ส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
• โดยส่วนมากลูกค้าอาจไปรับเอง หรืออาจมีเจ้าหน้าที่มาส่งให้ ณ ที่นัดหมาย หรืออาจไปรับที่สนามบินก็ได้
•ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
• ซึ่งเป็นสินค้าและบริการส่วนเสริม (Auxiliary Segments)
ช่วยในการซื้อบัตรโดยสาร
หากTravel Agency ใดไม่ได้เน้นการขายบัตรโดยสารเครื่องบิน อาจไม่สามารถออกบัตรโดยสารเองได้ จึงต้องซื้อจาก Travel Agency อื่นออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ


ประโยชน์ของการใช้บริการจาก Travel Agency


-ช่วยวางแผนและหาข้อมูลในการท่องเที่ยว
-สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุดได้
-ทำให้ประหยัดเวลาและความลำบาก
-ช่วยแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
-รู้จักผู้ประกอบธุรกิจมากกว่า
-รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า



ลักษณะของตัวแทนทางการท่องเที่ยว (travel agency) ที่ดี


-ต้องสามารถเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของลูกค้าในเรื่องของการเดินทางท่องเที่ยวได้
-เป็นนักขาย นักจิตวิทยา มีความรู้ความชำนาญในเรื่องของการ
เดินทางท่องเที่ยว
-รู้ถึงข้อได้เปรียบ เสียเปรียบของการเดินทางในรูปแบบต่างๆ
-สามารถจัดหาบริการเดินทางให้เหมาะสมกับลูกค้าของตน
-มีความรู้เรื่องภูมิศาสตร์ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ได้ดี
-สามารถอ่านตารางเวลาเข้า-ออกของยานพาหนะได้ทุกประเภทได้อย่างรวดเร็ว
-สามารถคิดค่าตั๋ว และเขียนตั๋วได้ทุกประเภท มีความรู้เกี่ยวกับการสำรองที่นั่งบนเครื่องบินและห้องพักในโรงแรม
-มีความรู้เกี่ยวกับราคาที่พักแรม คุณภาพ ลักษณะร้านอาหาร สถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง
-ตื่นตัว ติดตามข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์ปัจจุบัน กฎระเบียบต่างๆ



Alphabet Code for airline business


A : Able B: Baker C : Charlie
D : Dog E : Easy F : Fox
G : George H : How
I : Item J : John(Jimmy) K : King
L : Love M : Mike N : Nan ( Nancy)
O : Oboe P : Peter Q : Queen
R : Roger S : Sugar T : Tare
U : Uncle V : Victor W : William
X : X-Ray Y : York Z : Zebra



ประเภทของ Travel Agency



nเมื่อประมาณ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา แทรเวล เอเจนซี่มีขนาดเล็ก เป็นธุรกิจของครอบครัวและให้บริการแก่ลูกค้าที่อยู่ในทำเลใกล้เคียง โดยมักขายผลิตภัณฑ์และบริการท่องเที่ยวหลากหลายประเภท ปัจจุบันแทรเวล เอเจนซี่มีรูปแบบที่แตกต่างกัน

Travel Agencyแบ่งเป็น 4 ประเภท

แบบที่มีมาแต่เดิม Conventional Agencies
- ประเภทเครือข่าย

- ประเภท Franchise
- ประเภท Consortium
- ประเภท อิสระ


แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต Online Agencies

- แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง Specialized Agencies
-แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก Home-based Agencies


1. แบบที่มีมาแต่เดิม ( Conventional Agency)


-มักจะขายผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยวที่หลาก หลายและเต็มรูปแบบ
เช่น ขายบัตรโดยสารเครื่องบิน ที่พัก บริการเช่ารถ บัตรโดยสารรถไฟ เรือสำราญ โปรแกรมทัวร์ และทัวร์แบบเหมาจ่ายต่างๆ
-ลูกค้าสามารถจองหรือขอคำปรึกษาทางโทรศัพท์ ทางอีเมล์ หรือไปที่สำนักงาน
-มักจะขายให้กับลูกค้าที่อยู่ในชุมชนนั้นและบริเวณใกล้เคียง

-แทรเวล เอเจนซี่ ประเภทนี้อาจแบ่งย่อยตามลักษณะการบริหารจัดการ ดังนี้
-แบบเครือข่าย เช่น Carlson Wagonlit และ American Express บางเครือข่ายอาจใหญ่ มีสาขามากกว่า 1000 สาขา เรียกว่า mega-agency
-แบบแฟรนไชส์ หมายถึง แทรเวล เอเจนซี่ของบุคคล หรือครอบครัวแต่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับบริษัทแม่ที่มีชื่อเสียง เพื่อให้ได้ใช้ชื่อและได้แนวทางการดำเนินงานจากบริษัทนั้น โดยจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับบริษัทแม่รายปี
-แบบคอนซอเตียม (Consortium) คือ กลุ่มของเอเจนซี่ที่ร่วมมือกันพัฒนากิจกรรมทางการตลาดและระบบอื่นๆ เช่น ระบบบัญชี การฝึกอบรมพนักงาน เป็นต้น เอเจนซีแบบนี้ยังคงรักษาลักษณะเฉพาะของตนเอง และไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อของบริษัทแม่
-แบบอิสระ ไม่มีความเกี่ยวข้องในลักษณะเครือข่ายกับบริษัทใด มักเป็นของบุคคลหรือครอบครัว


2. แบบขายทางอินเตอร์เน็ต (Online Agencies)


-เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา เอเจนซีประเภทนี้ประกอบธุรกิจผ่านทางอินเตอร์เน็ต และบางครั้งอาจให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์บ้าง
-แทรเวล เอเจนซี แบบออนไลน์ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Travelocity Expedite และ Orbits
-จุดเด่นของเอเจนซีที่ขายทางอินเตอร์เน็ต คือ สามารถขายไปยังที่ต่างๆทั่วโลก ไม่จำกัดเฉพาะในชุมชน หรือแหล่งที่ตั้งแห่งหนึ่งแห่งใด



3. แบบชำนาญเฉพาะทาง (Specialized Agencies)



-เอเจนซีแบบอิสระ และแบบที่เป็นส่วนหนึ่งของคอนซอเตียม พบว่าอาจจะทำธุรกิจได้ดีขึ้นหากขายไปยังกลุ่มตลาดลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะทาง เช่น ตลาดนักธุรกิจ ตลาดเรือสำราญ ตลาดลูกค้าระดับสูง เป็นต้น


4. แบบประกอบธุรกิจจากที่พัก (Home-Based Agencies)

ในปัจจุบันที่ธุรกิจต่างๆสามารถทำได้โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต ผู้ประกอบการแทรเวล เอเจนซี อาจปรับเปลี่ยนบ้านหรือที่พักเป็นสำนักงาน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสำนักงาน และไม่ต้องใช้งบประมาณลงทุนสูง



การจัดตั้งธุรกิจนำเที่ยว


ทำเลที่ตั้ง


•ธุรกิจนำเที่ยวที่ไม่ได้ติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรง อาจตั้งในย่านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และสามารถติดต่อกับบริษัทตัวแทนได้สะดวก
สำหรับตัวแทนทางการท่องเที่ยวอาจจะตั้งอยู่ในชุมชน เข้าถึงได้สะดวก
แหล่งเงินทุน
เนื่องจากธุรกิจนำเที่ยวไม่ต้องลงทุนมากเหมือนกันอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ เพียงมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับติดต่อสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โทรสาร ฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น


การตลาด


คือ ลู่ทางการจัดจำหน่าย ส่วนแบ่งทางการตลาด การทำประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการวางแผน การทำวิจัยตลาด การส่งเสริมการขาย เป็นต้น
การจดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว
ดูรายละเอียดและขั้นตอนได้ใน www2.tat.or.th/tbgr/
หลักประกันใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
เฉพาะพื้นที่ 10,000 บาท ในประเทศ 50,000 บาท
Inbound 100,000 บาท
Outbound 200,000 บาท


คำจำกัดความของบริษัททัวร์ดังนี้


•Tour wholesaler: A travel vendor that assembles package vacations to be sold to the public by retail travel agencies.

•บริษัททัวร์ (ผู้ขายส่งทัวร์) หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่จัดทำโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายโดยขายให้กับลูกค้าผ่านทางแทรเวล เอเจนซี่
• (Foster, 1994 : 371)


บริษัททัวร์ หรือผู้ขายส่งทัวร์


•หมายถึง ธุรกิจที่จัดทำทัวร์แบบเหมาจ่ายหรือจัดนำเที่ยว
•(Foster, 1994 : 371)
•A tour is defined as any preplanned (and prepaid) package to one or more places, which includes two or more travel components (e.g. flights, lodging, admission to attractions)


ทัวร์ หมายถึง อะไร

•รูปแบบของการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนล่วงหน้า (และชำระเงินล่วงหน้า) ซึ่งจะท่องเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งแห่งหนึ่งหรือมากกว่า โดยจะรวมองค์ประกอบของการท่องเที่ยวอย่างน้อย 2 ประเภทหรือมากกว่า เช่น อาจจะรวมบัตรโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบัตรเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น
•(Mancini, 2005 : 114)


บริษัททัวร์ทำสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ


•ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร สายการบิน บริษัทรถโคชและบริษัทที่บริการด้านการเดินทางอื่นๆ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้แก่ สวนสนุก พิพิธภัณฑ์
•เพื่อทำโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายประเภทต่างๆ จากนั้นจึงขายโปรแกรมทัวร์ไปยังลูกค้าโดยตรงหรือผ่านทางแทรเวล เอเจนซี

โครงสร้างการบริหารของบริษัทนำเที่ยว


¤แผนกบุคคลและมัคคุเทศก์ ( Personnel and Guide)
¤แผนกจัดนำเที่ยวอิสระ (Foreign Individual Traveller)
¤แผนกจัดนำเที่ยวเป็นกลุ่มและเพื่อเป็นรางวัล (Group and Incentive)
¤แผนกจัดรายการนำเที่ยว (Tour Operation)
¤แผนกจัดนำเที่ยวภายในประเทศ ( Inbound Tour)
¤แผนกจัดนำเที่ยวนอกประเทศ ( Outbound Tour)
¤แผนกจัดนำเที่ยวไทยภายในประเทศ ( Domestic Tour)
¤แผนกบริหาร ( Management)
¤แผนกขายและการตลาด (Sale and Marketing)
¤แผนกปฏิบัติการและนำเที่ยว (Operation)
¤แผนกยานพาหนะ (Transportation)
¤แผนกเอกสารธุรการ (Support Staff and Documentation)
¤แผนกรับจองและขาย (Reservation and Sales)
¤แผนกแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Currency Exchange)



ประเภทของการจัดนำเที่ยว


-ทัวร์แบบอิสระ An Independent Package Tour
-ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว A Hosted Tour
-ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว An Escorted Tour


1. ทัวร์แบบอิสระ (Independent Tour)

-เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวแบบอิสระ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะประกอบด้วยที่พักในโรงแรม บัตรโดยสารเครื่องบิน และการบริการรถรับ-ส่งจากสนามบินหรือรถเช่า
-ทัวร์แบบอิสระจะทำให้นักท่องเที่ยวมีเสรีที่จะวางแผนกิจกรรมต่างๆได้เอง ในขณะเดียวกันก็จะเสียค่าใช้จ่ายในราคาที่ต่ำกว่าการจองผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวโดยตรง


2. ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว (Hosted Tour)


หมายถึง โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัททัวร์ ณ แหล่งท่องเที่ยว ตัวแทนบริษัททัวร์จะเข้ามาพบนักท่องเที่ยวเพื่อให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาในเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน นักท่องเที่ยวจะได้รับประโยชน์และการบริการ ณ แหล่งท่องเที่ยวที่เดินทางไป


3. ทัวร์แบบมีผู้ นำเที่ยว (Escorted Tour)

การจัดทัวร์แบบอื่นๆ เช่น

-การจัดทัศนาจร (Day Tour) หมายถึง โปรแกรมทัวร์ที่พานักท่องเที่ยวเดินทางโดยใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงเช่น การท่องเที่ยวชมเมือง (City Tour) มักจะจัดโดยรถโค้ชหรือรถบัสขนาดเล็ก บางครั้งผู้ขับรถโค้ชหรือรถบัสขนาดเล็ก บางครั้งผู้ขับรถโค้ชจะทำหน้าที่มัคคุเทศก์เอง
- ทัวร์แบบผจญภัย (Adventure Tours) เช่น การไปดำน้ำ การไปล่องแพ การไปเดินป่าเป็นต้น
บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว (Destination Management Company or DMC)

-ททท.ให้คำจำกัดความดังนี้ “บริษัทที่ดำเนินจัดการเรื่องการขนส่งภาคพื้นดิน การจัดงานเลี้ยง โรงแรมและนำเที่ยวให้แก่กลุ่มท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล (Incentive Group)
-DMC มีความความเชี่ยวชาญดังนี้
-- บริการขนส่งภาคพื้นดิน จองห้องพัก ห้องอาหารและห้องจัดเลี้ยงของโรงแรม บริการจัดงานเลี้ยงนอกสถานที่ จัดกิจกรรมพิเศษ เช่น นันทนาการ กลุ่มสัมพันธ์
-บริษัทเอกชนต่างๆ นิยมติดต่อบริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยวให้ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวให้ดำเนิน


การจัดการท่องเที่ยวให้กับกลุ่มเดินทางท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล

บริษัทรับจัดการประชุม (Meeting Planner


-ตลาดการประชุมทั้งในและนอกประเทศเติบโตสูงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจึงกิดธุรกิจจัดประชุม ซึ่งธุรกิจนี้เป็นผู้จัดจำหน่ายที่สำคัญของธุรกิจโรงแรมและมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
-เลือกสถานที่สำหรับการประชุม จองห้องพัก ห้องประชุม และอุปกรณ์สำหรับการประชุม วางแผนด้านอาหารและเครื่องดื่ม วางโปรแกรมสำหรับผู้เข้าประชุมและผู้ติดตาม
-ประสานงานกับผู้จัดการประชุมของโรงแรมและสถานที่จัด วิทยากรหรือผู้รับเชิญ วางแผนด้านการรักษาความปลอดภัยหรือแก้ไขวิกฤต
-บริการด้านการเดินทางและขนส่ง ประเมินผลงานเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง



มัคคุเทศก์


แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.มัคคุเทศก์ทั่วไป
2.มัคคุเทศก์เฉพาะ

บทที่ 9 ผลกระทบจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

- ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ

- ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม

- ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม

- ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม


ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ


-ช่วยทำให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ (Local Income)
-ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล (Government Receipt)
-ช่วยให้เกิดการจ้างงาน (Employment)
-ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ (Creating new job)
-ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Earning
-ช่วยให้เกิดภาวะดุลชำระเงิน (Balance of Payment


ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ


-ค่าครองชีพของคนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น (Increase of Living Expenses)
-ราคาที่ดินแพงขึ้น
-มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ
-ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ
-รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ เป็นไปตามฤดูกาล


ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อสังคม


-เป็นการพักผ่อนหย่อนใจของบุคคล ลดความเครียด
-ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชาติต่างๆ
-ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชาติต่างๆ
-มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น
-คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณใกล้เคียง



การท่องเที่ยวช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์
“การท่องเที่ยวเป็นหนทางไปสู่สันติภาพ” (Tourism is a passport to peace

-ช่วยให้สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นดีขึ้น
-ช่วยเสริมอาชีพให้คนในท้องถิ่น การกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น การจ้างงาน ทำให้คุณภาพชีวิตคนดีขึ้น
-การท่องเที่ยวจะช่วยลดปัญหาการอพยพเข้าไปทำงานในเมืองหลวง



ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม

-ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว
-โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลง
-การเลือนหายของอาชีพดั้งเดิมในท้องถิ่น
-ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
-ปัญหาโสเภณีและCommercial sex
-การมีค่านิยมผิดๆ จากการเลียนแบบนักท่องเที่ยว
-ปัญหาการบิดเบือนหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
-ปัญหาความไม่เข้าใจและการขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นกับนักท่องเที่ยว
-ช่วยให้เกิดการก่อสร้างสิ่งดึงดูดใจด้านการพักผ่อนในพื้นที่
-ปัญหาสังคมต่างๆ อาทิ ยาเสพติด โรคเอดส์


ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม


-เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนจางหายไป
-มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
-ช่วยเผยแพร่National Identity
(............ลักษณ์ประเทศ)
-ผลกระทบอื่นๆ


ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม


-คุณค่าของงานศิลปะลดลง
-วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นตอบสนองนักท่องเที่ยว
-วัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวมีบทบาทในการรับวัฒนธรรมใหม่ (Acculturate) ของคนในท้องถิ่น
-เกิดภาวะตระหนกและสับสนทางวัฒนธรรม (Culture Shock
-การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรมนั้น(Demonstration Effect)
-การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรม(Demonstration Effect)
-§คนพื้นถิ่นมีโอกาสพบปะกับนักท่องเที่ยว และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เข้ามา เช่น ชาวเขาย่อมแต่งชุดชาวเขาดั้งเดิม แต่พอนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อมาเยี่ยมชมมากขึ้น เห็นได้ชัดเจนว่าชาวเขาบางส่วนสวมกางเกงยีนส์และเสื้อยืดแทนที่จะใส่ชุดชาวเขา
-§ผู้หญิงในหมู่บ้านนุ่งผ้าซิ่นทอเอง ต่อมาความเจริญมีขึ้นเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปแทน


ผลกระทบทางบวกจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม


-เกิดการปรับปรุงและพัฒนาสภาพภูมิทัศน์และกายภาพให้ดีขึ้น
-มีการลงทุนจากภาครัฐในด้านสาธารณูปโภคเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ
-เกิดการพัฒนาพื้นที่ธรรมชาติ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า
-เกิดมีการปรับปรุงแก้ไข มาตรการ ระเบียบตลอดจนกฎหมายต่างๆ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาว
-เกิดความตระหนักในการกำจัดของเสียประเภทต่าง อาทิน้ำเน่า ขยะมูลฝอย โดยเฉพาะที่พักหรือร้านอาหารที่อยู่ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว
-เกิดโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยว
-การตื่นตัวจัดตั้งมูลนิธิพิทักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น


ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม

ด้านกายภาพ

-พื้นที่ธรรมชาติบางส่วนถูกทำลาย เพื่อการสร้างที่พักในแหล่งธรรมชาติ
-กิจกรรมนันทนาการบางประเภทมีผลต่อธรรมชาติ อาทิ การตั้งแคมป์ไฟ การตัดต้นไม้
-การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอาจส่งผลต่อภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
-การท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่า อาจส่งผลต่อธรรมชาติในแง่ดินถล่ม การบุกรุกพื้นที่
-ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ธรรมชาติ
-การรบกวนธรรมชาติอันเกิดจากการไม่จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมธรรมชาติ
-เกิดการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากที่ดินในแนวทางที่ไม่เหมาะสม
-เกิดการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวบางราย

ด้านมลภาวะ

-ขยะมูลฝอยต่าง ๆ ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการที่กำจัดไม่เหมาะสม ทำลายภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว ทั้งกลิ่น และภาพ
-น้ำเน่าเสีย จากผู้ประกอบการต่างๆ อาทิ โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ฯลฯ
-อากาศเสีย จากการก่อสร้างเนื่องมาจากการขยายตัวของแหล่งท่องเที่ยว